PLC จำแนกขนาดอย่างไร ?
เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ไปใช้งานอย่างกว้างขวาง ซึ่งในการนำเอาโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ไปใช้งานในแต่ละชนิดนั้น จะพิจารณาจากขนาดของงานที่จะนำไปควบคุมเป็นหลัก ดังนั้นจึงเป็นผลให้ผู้ผลิตโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ทำการผลิต PLC ออกมาหลากหลายระดับ ซึ่งในแต่ละระดับก็มีสมรรถภาพแตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภท
โดยทั่วไปการแบ่งขนาดของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์จะพิจารณาจากขนาดของหน่วย ความจำโปรแกรม (Program memory) และจำนวนของอินพุท และเอ้าท์พุท(Input/Output chanels) สูงสุดที่ระบบโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์นั้น สามารถที่จะรองรับได้ ซึ่งจากตารางที่ 1-2 จะแสดงการจำแนก PLC ตามขนาดของหน่วยความจำโปรแกรม และจำนวนของอินพุท และเอ้าท์พุท
ขนาดของ PLC | จำนวน I/O สูงสุด | หนวยความจำโปรแกรม |
ขนาดเล็ก (Small size) | ไม่เกิน 128 / 128 | 4 Kbyte (2,000 Statements) |
ขนาดกลาง (Medium size) | ไม่เกิน 1024 / 1024 | 16 Kbyte (8,000 Statements) |
ขนาดใหญ่ (Large size) | ไม่เกิน 2048 / 2048 | 64 Kbyte (32,000 Statements) |
ขนาดใหญ่มาก (Very large size) | ประมาณ 8192 / 8192 | 256 Kbyte (128,000 Statements) |
แสดงการจำแนกขนาดของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ |
แต่อย่างไรก็ตามในการพิจารณาคุณสมบัติของโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ เพื่อนำไปใช้งานจะต้องพิจารณาองค์ประกอบ หรือคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น Processor, Cycle time, Language facilities, Function operations, Expansion capability, Communication port เป็นต้น
|
นอกจากนั้นเรายังสามารถ ที่จะแบ่ง โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ตามโครงสร้างออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.แบบ Compact
จะเป็นโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด มีหน่วยอินพุท/เอ้าพุท และหน่วยสำหรับติดต่อสื่อสารข้อมูล ประกอบรวมกันอยู่ภายในโครงสร้างเดียวกัน ซึ่งโครงสร้างของ โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ที่มีลักษณะนี้ได้แก่ PLC Simatic S7-200 / Siemens LOGO ซึ่งเหมาะสำหรับงานที่มีการกำหนดจำนวนอินพุท/เอ้าท์พุท ที่แน่นอนและมีจำนวนไม่มาก เช่นใช้ในการควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น
|
|
2.แบบ Modular
จะเป็นโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ที่มีลักษณะเป็นโมดูล เชื่อมต่อกันอยู่บน Rack สามารถจะทำการถอดและเสียบโมดูลที่ต้องการใช้งาน Rack ได้ ภายใต้ข้อกำหนดของโปรแกรม เมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ นั้นๆ โดยบน Rack จะมีบัสต่างๆ เช่น บัสข้อมูล, บัสแอดเดรส , บัสควบคุม และ บัสสำหรับจ่ายกำลังงานไฟฟ้าให้กับโมดูลต่างๆ ซึ่ง โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ ในปัจจุบันนิยมที่จะมีโครงสร้างในลักษณะนี้ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในเรื่องของจำนวน อินพุท/เอ้าท์พุท และโมดูลฮาร์ดแวร์ที่ใช้ ซึ่งโครงสร้างของ โปรแกรมเมเบิลลอจิก-คอนโทรลเลอร์ที่มีลักษณะนี้ได้แก่ PLC Simatic S5 95U, S7 300, S7 400 เป็นต้น
อ้างอิง ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก : http://www.9engineer.com/index.php?m=article&a=show&article_id=2319
ช่องทางการติดต่อ
fb : @GreatOrientalTrading
line@ : @gotrading
Mobile : 097-3619703
Tel : 074-300212-4