เครื่องควบคุมปริมาณการจ่ายของเหลว
หรือ Batch Controller
มีบางอย่างที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า เอ๊ะ! มันเกิดขึ้นได้อย่างไรกันนะ เช่น ทำไมเวลาที่เราไปเติมน้ำมันในปั๊มน้ำมัน พนักงานเพียงกดค่าที่ต้องการเป็นจำนวนเงิน หรือเป็นจำนวนลิตรที่ต้องการ เมื่อครบตามจำนวนที่กำหนดไว้มันก็จะหยุดการจ่ายน้ำมันโดยอัตโนมัติ ว่าแล้วเราลองมาทำความเข้าใจกับการทำงานของมันแบบพอเป็นสังเขปกันดีกว่า
เจ้าตัวที่ทำหน้าที่ควบคุมให้การจ่ายน้ำมันให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ที่จริงแล้วมันก็คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมปริมาณการจ่ายสารที่เป็นของเหลวให้ได้ปริมาตรตามที่ต้องการ
แต่ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จะเป็นการเติมสารลงในภาชนะบรรจุ หรือเติมเข้าไปในขบวนการผลิต รวมไปถึงคลังน้ำมันที่มีการเติมสำหรับรถบรรทุก เป็นการรวมเอาอุปกรณ์ควบคุม 2 อย่างเข้าด้วยกัน อันได้แก่ PLC(Programmable Logic Controller) ซึ่งเป็นตัวเก็บโปรแกรมที่ต้องการไว้ และหน้าจอแสดงผลแบบมีปุ่มกด 0-9 และอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับให้ผู้ใช้งาน สามารถป้อนค่าตัวเลขที่ต้องการได้รวมถึงการมีพอร์ทสำหรับสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ไว้ในตัว
1. แบบ Panel Mount
2. แบบ Field Mount Type IP67 (NEMA 4X)
3. แบบ Explosion Proof
ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อความเหมาะสมกับความต้องการดังกล่าวข้างต้น ที่เรียกว่า Batch Controller เพื่อให้ติดตั้ง และใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยมี อินพุทและเอาท์พุทไว้สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน ได้แก่ Flow Meter , Control Valve , อินพุทสวิทช์รวมไปถึง พอร์ทสื่อสาร RS232/485 เพื่อสะดวกในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบควบคุมอัตโนมัติได้โดยง่าย ลักษณะการติดตั้งจะมีอยู่ 3 แบบหลัก ได้แก่ ติดตั้งหน้าตู้ควบคุม (Panel Mount) ติดตั้งได้ภายนอกอาคารโดยไม่ต้องมีตู้ควบคุม (Field Mount ) ได้ระดับการป้องกันถึงIP67 (NEMA 4X) และแบบที่สามเป็นการติดตั้งในพื้นที่ ที่สามารถก่อให้เกิดการระเบิดเนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ โดยอุปกรณ์จะถูกติดตั้งอยู่ในกล่องซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่ากล่องกันระเบิด (Explosion Proof) โดยออกแบบให้อุปกรณ์สามารถติดตั้งใช้งานได้ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดระเบิดเนื่องจากสารไวไฟในบริเวณนั้น (Hazardous Area) มีปุ่มกดใช้งานพร้อมหน้าจอแสดงผล
การนำไปประยุกต์ใช้งาน
ภาพแสดงการนำไปประยุกต์ใช้งานในพื้นที่อันตราย เช่น คลังน้ำมัน
การนำไปประยุกต์ใช้งาน (ต่อ)
ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อความเหมาะสมกับความต้องการดังกล่าวข้างต้น ที่เรียกว่า Batch Controller เพื่อให้ติดตั้ง และใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยมี อินพุทและเอาท์พุทไว้สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน ได้แก่ Flow Meter , Control Valve , อินพุทสวิทช์รวมไปถึง พอร์ทสื่อสาร RS232/485 เพื่อสะดวกในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบควบคุมอัตโนมัติได้โดยง่าย ลักษณะการติดตั้งจะมีอยู่ 3 แบบหลัก ได้แก่ ติดตั้งหน้าตู้ควบคุม (Panel Mount) ติดตั้งได้ภายนอกอาคารโดยไม่ต้องมีตู้ควบคุม (Field Mount ) ได้ระดับการป้องกันถึงIP67 (NEMA 4X) และแบบที่สามเป็นการติดตั้งในพื้นที่ ที่สามารถก่อให้เกิดการระเบิดเนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ โดยอุปกรณ์จะถูกติดตั้งอยู่ในกล่องซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่ากล่องกันระเบิด (Explosion Proof) โดยออกแบบให้อุปกรณ์สามารถติดตั้งใช้งานได้ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดระเบิดเนื่องจากสารไวไฟในบริเวณนั้น (Hazardous Area) มีปุ่มกดใช้งานพร้อมหน้าจอแสดงผล
การนำไปประยุกต์ใช้งาน
ภาพแสดงการนำไปประยุกต์ใช้งานสำหรับโรงงานทั่วๆ ไป
เป็นยังงัยกันบ้างคะ คงจะช่วยคลายความขี้สงสัยให้กับหลายๆ ท่าน เกี่ยวกับเรื่องของอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายของเหลว เช่น การจ่ายน้ำมัน เป็นต้น ทางออโต้อินโฟก็จะพยายามสรรหาบทความที่เป็นประโยชน์ และน่าสนใจมานำเสนอให้กับท่านผู้อ่านกันเรื่อยๆ นะคะ หรือถ้าผู้อ่านท่านใดมีความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของอุปกรณ์ หรือแนวทางแก้ไขอื่นๆ ในระบบออโตเมชั่นก็สามารถสอบถามมาได้ ทางเราจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง โดยท่านสามารถเข้าไปดูที่อยู่ในการติดต่อได้ในเว็บไซด์นะคะ
อ้างอิง ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก : http://www.9engineer.com/post_files_editor/file/AU/autoInfo/Batch%20Controller.pdf
ช่องทางการติดต่อ
fb : @GreatOrientalTrading
line@ : @gotrading
Mobile : 097-3619703
Tel : 074-300212-4