Menu

Home / News & Events

ความแตกต่างระหว่างโปรฟิบัส กับ โปรฟิเน็ต (ProfiBus vs ProfiNet) By Admin, 10  Mar  2020

PROFIBUS และ PROFINET  ทั้งสองเป็นโปรโตคอลการสือสารอุตสาหกรรมที่นิยมใช้กันอย่างมากในคอนโทรลเลอร์ของ Siemens  โดยทั้งสองมีชื่อที่คล้ายๆกันแต่เป็นโปรโตคอลที่แตกต่างกัน ซึ่งใช้สายและคอนเน็คเตอร์แตกต่างกัน


 

  PROFIBUS ได้ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1993 ซึ่งย่อมาจาก PROCESS FIELD BUS  ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่เชื่อถือได้และได้รับความนิยมต่อเนื่องยาวนานจนถึงปัจจุบัน
   ลักษณะทั่วไปของพอร์ท PROFIBUS  จะดูคล้ายกับพอร์ทอนุกรม DB-9   RS232 และ RS-485  แต่เป็นคนละโปรโคคอล 
 
   สาย PROFIBUS เปลือกเกือบทั้งหมดจะเป็นสีม่วง ภายในมีสาย 2 เส้นหรือ 2 คอร์ คือสีแดงและสีเขียว
   PROFIBUS  Connrctor  หรือเทอร์มินอลต่อสาย บางตัวจะมีพอร์ทให้ต่อเติมด้านหลัง เพื่อให้สามารถต่อเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆเพิ่มเข้ามาในระบบ BUS เดียวกันได้
    PROFIBUS  Connrctor  ทุกตัวจะมีสวิตช์เล็กๆอยู่ด้วยเสมอเพื่อใช้ตัดต่อตัวความต้านทาน หรือ Terminating Resistor
 *** Terminating Resistor ทำหน้าที่ระบุจุดหรือโหนด (Node) หรืออุปกรณ์ตัวสุดท้ายของ ProfiBus Network
 

 
 อุปกรณ์ทุกตัวในระบบ Pribus Network จะมีแอดเดรสที่ต่างกัน (ไม่ซ้ำกัน) ตั้งแต่ 1-127  (หนึ่งเน็ตเวิร์คจะมีอโหนดหรืออุปกร
 
   
ที่อุปกรณ์จะมี Dip Switch สำหรับเซ็ต แอดเดรส (บางตัวไม่มี ซึ่งจะใช้วิธีเซ็ตแอดเดรสในโปรแกรม)
   baud rate: Pribus Network  สามารถส่งข้อมูลหรือสื่อสารข้อมูลได้ 9600 bps -12Mbps  และสามารถใช้สายได้ยาวสุด 1000 เมตร อัตราส่งหคือมูลหรือ baud rate ต่ำสุด 9600 bps  ซึ่งหากสายสั้นลงก็สามารถเซ็ต baud rate สูงขึ้นได้
   






 PROFINET

การเชื่อมต่อ PROFINET จะใช้ RJ-45 มาตรฐาน และมักใช้สายสีเขียว  มีชีลแข็งแรงทนทาน ซึ่งออกแบบมาให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม


อัตราการส่งข้อมูลสุงสุด 100 Mbps  ความยาวสายสูงสุด 100 เมตร ซึ่งจะเหมาะกับงานที่ต้องการความรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูล  เนื่องจาก PROFINET  อยู่บนมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ Ethernet

เราสามารถใช้อุปกรณ์ Ethernet มาตรฐานกับ PROFINET ไม่ว่าจะเป็น
-
 Ethernet Switch เพื่อเชื่อมตัวกับอุปกรณ์หลายตัว
- Media converter เพื่อเป็นแปลงเป็น Fiber optic ซึ่งทำให้ส่งสัญญาณได้ระยะไกลๆ
- การส่งสัญญาณด้วย WIFI

 

Addressing : อุปกรณ์ จะประกอบไปด้วย Address  ด้วยกันคือ 
- IP Address  เซ็ตโดยผู้ใช้เพื่อระบุ Address บนเครื่อข่าย
- Mac Address ซึ่งกำหนดมาจากโรงงาน  โดยอุปกรณ์แต่จะตัวจะไม่ซ้ำกัน
- Device Name ซึ่งตั้งโดยผู้ใช้งาน เพื่อให้จำง่ายและง่ายต่อการเข้าใจ





ที่มา  :Thai Industrial Control แหล่งความรู้ด้านระบบควบคุมอุตสาหกรรม
 

อ้างอิง ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจาก : http://www.9engineer.com/index.php?m=article&a=show&article_id=2453

ช่องทางการติดต่อ
fb : @GreatOrientalTrading
line@ : @gotrading
Mobile : 097-3619703
Tel : 074-300212-4



Our Customer